จากบทความก่อนหน้า Digital Transformation โดยรวมคืออะไร ที่ กล่าวถึง Digital Transformation ที่แบ่งมิติในการทำ Digital Transform ออกเป็น 3 Area คือ
- Customer Experience (ประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับ)
- Operational Process (กระบวนการทำงานโดยรวม)
- Business Model (เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่)
มิติต่างๆในการทำ Digital Transformation
ในการทำ Digital Transformation นั้น ในปัจจุบัน มีขั้นตอนในการทำ และ มีความเกี่ยวข้องกับเครื่องมือหลากหลาย ดังตัวอย่างในภาพ
The Digital Transformation Pyramid
ในการทำ Digital Transformation มีขั้นตอนโดยคร่าวๆ ดังนี้
- กำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ ในระดับองค์กร ซึ่ง เชื่อมโยงกับ Business Model ขององค์กร
- ดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ผ่านกระบวนการทำงานของส่วนต่างๆในองค์กร กำหนดให้ได้ว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ส่วนต่างๆ ขององค์กร เข้ามามีบทบาทอย่างไร มีความสัมพันธ์ กับ ทั้งภายในและ ภายนอกองค์กรอย่างไร
- ทำให้กระบวนการในข้อ 2 ง่ายขึ้น ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือ และ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในเรื่องนั้นๆ
บทความนี้จะให้น้ำหนักไปที่ การทำ Digital Transformation ใน Area ของ Operational Process ซึ่งจัดเป็นหลังบ้าน ของธุรกิจ และ มีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรทั้งองค์กร ด้วยการนำ ระบบ ERP มาเป็นเครื่องมือหนึ่ง มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับการนำ ERP ใช้สำหรับทำ Digital Transformation ดังนี้
- การมีเพียงระบบ ERP ยังอาจไม่ถือว่าเป็นการทำ Digital Transformation แต่การนำข้อมูลบนระบบ ERP ไปใช้ประโยชน์ในการวางวิสัยทัศน์ และ กลยุทธ เป็นส่วนหนึ่งของการทำ Digital Transformation ในระดับภาพรวม
- ERP เป็นระบบพื้นฐานที่เชื่อมโยงกระบวนการที่สำคัญขององค์กร ทุกส่วน โดยเฉพาะในส่วนหน้าบ้านและหลังบ้านองค์กรเข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลหลักชุดเดียวกัน ลดความซ้ำซ้อนการบันทึก และลดขั้นตอนการตรวจสอบที่ไม่จำเป็นบางอย่างลงไป
- ERP เป็นเครื่องมือสำคัญพื้นฐาน สำหรับการทำ Digital Transformation ใน Area ของ Operational Process
- กระบวนการจัดหา/วางระบบ ERP ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาของหลายองค์กร Requirement หลักในการจัดหา ERP มักเป็น Operational Requirement มากกว่า Strategic Requirement ทำให้การวางระบบของหลายองค์กรเน้นการตอบโจทย์เฉพาะ ด้าน Operation แต่มองข้ามประโยชน์ของ ERP ในด้าน Strategy
- ในการใช้ ERP ยุคปัจจุบัน นอกจาก ERP จะถูกใช้เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่มาจากเจ้าหน้าที่ที่เป็นมนุษย์แล้ว การใช้ ERP ทำงานร่วมกับ ระบบงานอื่น การทำงานร่วมกับ ระบบอัตโนมัติ เช่น RPA กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้น ERP ที่ทำงานร่วมกับ RPA เพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร ได้เสมือน มีหุ่นยนต์เลขา เป็นผู้ช่วยการทำงานในแต่ละทีมมนุษย์ ให้ทีมนั้นๆ ทำงานได้รวดเร็วขึ้น และ ลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้
ตัวอย่างในการนำ ระบบ ERP มาทำงานร่วมกับ ระบบอัตโนมัติ อย่าง RPA สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก PEAR Robotic Workflow