Barcode ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีมานานแล้ว ใช้ทดแทนการกรอกข้อมูลเพื่อป้องกันความผิดพลาด ตามประวัติศาสตร์แล้วมีการใช้ครั้งแรก ในปี 1974 ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 50 ปี และแม้ในปัจจุบัน เข้าสู่ยุคที่มีการทำ Digital Transformation แล้ว Barcode ก็ยังถูกหยิบมาใช้แทนการ key-in เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ในหลายกระบวนการ แทบจะกล่าวด้วยว่า ถ้าเปรียบเทียบ เทคโนโลยีที่ใช้ทำ Digital Transformation เหมือนเครื่องจักรใหญ่ หลายเครื่องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน Barcode ก็เหมือน เฟืองตัวเล็กๆ จำนวนมาก ที่แทรกอยู่ในเครื่องจักรใหญ่ แต่ละเครื่อง
Barcode ถูกใช้มาตลอดในกระบวนการด้าน Supply Chain ตั้งแต่ยุคแรก (จนถึงปัจจุบัน) มีการนำมาใช้ติดกับสินค้า แม้แต่สินค้าประเภทเดียวกัน แต่หากมีลักษณะหีบห่อไม่เหมือนกัน ก็ติด Barcode คนละรหัสกัน เช่น เมื่อไปซื้อของในห้างค้าส่ง สินค้าเดียวกัน อาจมีลักษณะ Pack เป็น Pack 6 , Pack 12 หรือ แม้แต่เป็นลัง ก็ใช้ Barcode คนละรหัสกัน
(แต่สามารถสืบกลับไปเป็นสินค้าตัวเดียวกันได้ ในระบบ ERP) แต่ Barcode เองก็มีข้อจำกัด คือ หากต้องเอามาใช้แทนข้อความที่ยาว ก็จะต้องพิมพ์บนแถบสติ๊กเกอร์ หรือ พื้นที่พิมพ์ ที่ยาว อาจไม่เหมาะกับ สินค้าที่มีขนาดเล็กได้
การนำ Barcode มาติดที่สินค้า
การนำ Barcode มาใช้กับ ข้อความที่ค่อนข้างยาว
จาก Barcode ที่มีรหัสอยู่บนแถบเดียวในลักษณะ 1-D ได้มีวิวัฒนาการ ไปสู่ Barcode 2-D ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่ 1 ในรูปแบบ Barcode 2-D ที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย คือ QR Code ซึ่งข้อดีของ QR Code คือ ภายใต้พื้นที่พิมพ์ ที่จำกัด สามารถใส่ข้อความที่ยาวมากได้ จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเก็บข้อมูลที่มีมากกว่า 1 ฟิลด์ได้ เช่น
การนำ QR Code มาใช้เก็บข้อมูลที่มีหลายฟิลด์
จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อข้อมูลหลากหลาย ตั้งแต่สินค้า ไปจนถึงเลขล็อต หรือแม้แต่ Serial No สามารถกำหนดได้ ด้วยแถบ QR Code เดียว จึงสามารถที่จะนำมาเป็นเครื่องมือเสริมสำหรับการทำ Lot Traceability ร่วมกับระบบ ERP ที่ออกแบบมาให้รองรับการทำ Traceability
ตัวอย่าง QR Code ที่มีข้อมูลของเลขล็อต และ Serial No ปรากฎอยู่ด้วย
จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อข้อมูลหลากหลาย ตั้งแต่สินค้า ไปจนถึงเลขล็อต หรือแม้แต่ Serial No สามารถกำหนดได้ ด้วยแถบ QR Code เดียว จึงสามารถที่จะนำมาเป็นเครื่องมือเสริมสำหรับการทำ Lot Traceability ร่วมกับระบบ ERP ที่ออกแบบมาให้รองรับการทำ Traceability นอกจากนี้ ยังสามารถนำ QR Code นำไปติดที่จุดต่างๆใน คลังสินค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นตาม Shelf หรือแม้แต่ Pallet ทั้งหมดนี้ เพื่อลดความผิดพลาด และเพิ่มความรวดเร็วในการบันทึกข้อมูลนั่นเอง
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำ QR Code มาใช้งานร่วมกับ ERP หรือ กำลังมองหา ERP ที่รองรับการใช้ QR Code สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Solution QR Code for Inventory