Pichaya Solution
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
Pichaya Solution
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
Pichaya Solution
Pichaya Solution Co., Ltd.
Pichaya Solution Co., Ltd.
Pichaya Solution Co., Ltd.

We provide ERP solution covering Accounting, Financial, Distribution, Manufacturing, Business Intelligence, etc.
Pichaya Solution Co., Ltd.

We provide ERP solution covering Accounting, Financial, Distribution, Manufacturing, Business Intelligence, etc.
Slider

วิธีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย

วิธีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย :
1.กรณีบุคคลธรรมดาผู้เป็นลูกจ้างนั้นทำงานมาไม่ถึงจำนวนปีและมิได้คำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานตามหลักเกณฑ ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายดังนี้


- ถ้าผู้รับเป็นพนักงานของบริษัทผู้จ่ายที่มีเงินเดือนประจำให้นำเงินเดือนคูณ 12 แล้วบวกด้วยเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน แล้วคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าได้ภาษีเท่าใดยังไม่ต้องหารด้วย 12 ผลลัพธ์ที่ได้ตั้งพักไว้เป็น (ก) ต่อมานำเงินเดือนคูณด้วย 12 หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน แล้วคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า ได้ภาษีเท่าใดไม่ต้องนำ12 มาหาร ผลลัพธ์ที่ได้ตั้งพักไว้เป็น (ข) จากนั้นนำ (ก) ตั้งแล้วลบด้วย (ข) ผลต่างที่ได้คือ ภาษีหักไว้ ณ ที่จ่ายของเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
2. กรณีบุคคลธรรมดาผู้เป็นลูกจ้างทำงานถึงจำนวนปีและคำนวณจ่ายจากระยะเวลาที่ทำงานตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังนี้ 
- การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน แต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า ผลลัพธ์ที่ได้คือภาษีที่หักไว้ ณ ที่จ่าย
- ในกรณีเงินได้พึงประเมินดังกล่าว จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จจำนวนหนึ่งและเงินบำนาญอีกจำนวนหนึ่ง ให้ถือว่าเฉพาะเงินที่จ่ายในลักษณะเงินบำเหน็จเป็นเงินซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และให้ลดค่าใช้จ่ายจำนวน 7,000 บาท ลงเหลือ 3,500 บาท
- ในการคำนวณจำนวนปีที่ทำงาน เศษของปีถ้าไม่ถึง 183 วันให้ปัดทิ้ง/ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน เมื่อถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้ว ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปีอีก 
การนำส่งภาษีต่อกรมสรรพากร : ให้นำส่งด้วยแบบ ภ.ง.ด.1 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการจ่ายเงิน 
1. กรณีนายจ้างจ่ายตามวิธีเดียวกับราชการคือ การจ่ายเงินบำเหน็จ
ตัวอย่างที่ 1 : ในปีภาษี 2548 นายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จให้ลูกจ้างเพราะเหตุออกจากงานโดยคำนวณจ่ายเงินบำเหน็จ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นเงิน 150,000 บาท โดยลูกจ้างทำงานมา 15 ปี ได้รับเงินเดือนในเดือนที่ออกจากงาน 10,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : เงินบำเหน็จที่นำไปหักค่าใช้จ่ายทั้งปี = 150,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x 15) = 105,000.00 บาท 
คงเหลือ = 45,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 45,000 บาท = 22,500.00 บาท 
รวมค่าใช้จ่าย (105,000+22,500) = 127,500.00 บาท 
เงินบำเหน็จที่จ่ายจริง = 150,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายเงินบำเหน็จ = 127,500.00 บาท 
เงินบำเหน็จหลังจากหักค่าใช้จ่าย = 22,500.00 บาท 
ดังนั้น ภาษีหักไว้ ณ ที่จ่าย (22,500 x 5% ) = 1,125.00 บาท
2. กรณีนายจ้างจ่ายแตกต่างไปจากวิธีของทางราชการได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดระเบียบการคำนวณเงิน ได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงาน โดยคำนวณจ่ายจากระยะเวลาทำงาน ที่ใช้เป็นเกณฑ์การคำนวณค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ปรากฏว่า มาตรา 42 ทวิ วรรคสาม ได้้ยกเลิกไปตามพระราชกำหนดแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 มาตรา 5 โดยได้นำไปบัญญัติไว้ในมาตรา 45 (5) และมาตรา 50 (1) วรรคสาม การยกเลิกมาตรา 42 ทวิ วรรคสามไปนี้ก็คงไม่กระทบกระเทือน ต่อวิธีการหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายของเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากร ดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นถ้านายจ้างมีวิธีการคำนวณแตกต่างไปจากวิธีการของทางราชการเงินได้พึงประเมินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวจะนำมาหักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายมาตรา 48 (5) ได้เท่ากับจำนวนที่นายจ้างจ่ายให้ แต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินได้ สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน ในกรณีที่ผู้ได้รับเงินบำเหน็จได้รับเงินเดือนไม่เท่ากันตลอด 12 เดือน เงินได้สำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายดังกล่าวจะต้องไม่เกินเงินได้รายเดือนถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงาน บวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น คำว่าจำนวนปีที่ทำำงานจะต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงจะคิดค่าใช้จ่ายตามมาตรา 48 (5) ได้ ถ้าจำนวนปีที่ทำงานน้อยกว่า 5 ปี คงหักค่าใช้จ่ายตามปกติได้เพียง 40 % แต่ไม่เกิน 60,000 บาท 
ตัวอย่างที่ 2 : กรณีเงินบำเหน็จต่ำกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน เช่น ในปีภาษี 2548 นายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จเป็นเงิน 80,000 บาท ให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานมา 10 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้ายเท่ากับ 10,000 บาท จะคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้ 
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : เงินได้ที่จะนำไปหักค่าใช้จ่ายต้องไม่เกิน (10,000 x 10) = 100,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จที่จ่าย 80,000 บาท จึงไม่เกินเงินได้ 100,000 บาท
ดังนั้น จึงนำเงินได้ 80,000 บาท ไปหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน = 80,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x 10) = 70,000.00 บาท 
คงเหลือ = 10,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 10,000 บาท = 5,000.00 บาท 
ดังนั้น รวมค่าใช้จ่าย (70,000 + 5,000) = 75,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จที่จ่ายจริง = 80,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่าย = 75,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว = 5,000.00 บาท 
ดังนั้น ภาษีหักไว้ ณ ที่จ่าย (5,000 x 5% ) = 250.00 บาท
ตัวอย่างที่ 3 : กรณีจ่ายเงินบำเหน็จสูงกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน เช่น ในปีภาษี 2548 นายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จเป็นเงิน 120,000 บาท ให้แก่ลูกจ้างซึ่งทำงานมา 10 ปี เงินเดือนเดือนสุดท้าย 10,000 บาท จะคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้ 
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : เงินได้ที่จะนำไปหักค่าใช้จ่ายต้องไม่เกิน (1,000 x 10) = 100,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จที่จ่าย 120,000 บาท ซึ่งเกินกว่า 100,000 บาท 
ดังนั้น จึงต้องนำเงิน 100,000 บาท เป็นตัวตั้งในการคำนวณหักค่าใช้จ่าย 
เงินได้พึงประเมิน = 100,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x 10) = 70,000.00 บาท 
คงเหลือ = 30,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 30,000 บาท = 15,000.00 บาท 
รวมค่าใช้จ่าย (70,000+15,000) = 85,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จที่จ่ายจริง = 120,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่าย = 85,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว = 35,000.00 บาท 
ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย (35,000 x5% ) = 1,750.00 บาท 
ตัวอย่างที่ 4 : กรณีลูกจ้างได้รับเงินบำเหน็จและได้รับเงินเดือนไม่เท่ากันตลอด 12 เดือน เช่น ในปีภาษี 2548 นายจ้างจ่ายเงินบำเหน็จเป็นเงิน 120,000 บาทให้แก่ลูกจ้าง ซึ่งทำงานมา 10 ปี และในปีที่ออกจากงาน ลูกจ้างได้รับเงินเดือนตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน เดือนละ 8,000 บาท และตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม เดือนละ 10,000 บาท จะมีการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : 
ขั้นที่ 1 : ถัวเฉลี่ยของเงินเดือน 12 เดือนสุดท้าย

(8,000 x 6) + (10,000x 6)

= 9,000.00 บาท

12

 

ขั้นที่ 2 : บวกกับ 10%ของเงินเดือนถัวเฉลี่ย (9,000 x 10%= 900) = 9,900.00 บาท
ขั้นที่ 3 : เงินได้ที่จะนำไปหักค่าใช้จ่ายต้องไม่เกิน = 9,900x 10 = 99,000.00 บาท เปรียบเทียบเงินบำเหน็จที่จ่ายจริงจำนวน 120,000 บาท เกินกว่าจำนวนที่คำนวณได้ ดังนั้นจึงต้องนำเงินที่คำนวณได้จำนวน 99,000 บาทเป็นตัวตั้งในการคำนวณค่าใช้จ่าย 
เงินได้ที่นำมาคำนวณค่าใช้จ่าย = 99,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x 10) = 70,000.00 บาท 
คงเหลือ = 29,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 29,000 บาท = 14,500.00 บาท 
ดังนั้น รวมค่าใช้จ่าย (70,000+14,500) = 84,500.00 บาท 
เงินบำเหน็จที่จ่ายจริง = 120,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่าย = 84 ,500.00 บาท 
เงินบำเหน็จหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว = 35,500.00 บาท 
ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย (35,500 x 5% ) = 1 ,775.00 บาท
3. กรณีจ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ(กบข.) ให้นำเงินได้ที่ได้รับมาเป็นฐานเพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวนโยไม่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน 
ตัวอย่างที่ 5 : นายดำรับราชการมาเป็นเวลา 10 ปี ในปีภาษี 2548 ได้รับเงินเดือนก่อนออกจากงานเดือนละ 10,000 บาท เมื่อลาออกจากงานได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจำนวน 200,000 บาท ผู้จ่ายเงินได้จะต้องคำนวณภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ดังนี้ 
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : เงินที่จ่ายจากกองทุนบำเหน็จฯ (กบข.) = 200,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x 10) = 70,000.00 บาท 
คงเหลือ = 130,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 130,000 บาท = 65,000.00 บาท 
ดังนั้น รวมค่าใช้จ่าย (70,000+65,000) = 135,000.00 บาท 
เงินบำเหน็จหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว (200,000-135,000) = 65,000.00 บาท 
ดังนั้น ภาษีหักไว้ ณ ที่จ่าย (65,000 x 5% ) = 3,250.00 บาท
4. กรณีจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ให้นำเงินได้ที่ได้รับมาเป็นฐานเพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน โดยไม่ต้องนำไปเปรียบเทียบกับเงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน 
ตัวอย่างที่ 6 : นายแดงถูกให้ออกจากงานเนื่องจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากนายจ้าง 300,000 บาท นายแดงได้รับเงินเดือนเดือนละ 60,000 บาท ทำงานมาครบ 5 ปี นายจ้างผู้จ่ายเงินได้จะต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ที่เป็นเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานดังนี้ 
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่จ่าย = 300,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x5 ) = 35,000.00 บาท 
คงเหลือ = 265,000.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 265,000 บาท = 132,500.00 บาท 
ดังนั้น รวมค่าใช้จ่าย (35,000+132,500) = 167,500.00 บาท 
เงินชดเชยหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว (300,000-167,500) = 132,500.00 บาท 
ดังนั้น ภาษีหักไว้ ณ ที่จ่าย = 8,250.00 บาท (100,000 x 5% )+(32,500x 10% )
5. กรณีลูกจ้างได้รับเงินจากนายจ้างครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานหลายจำนวน ให้นำเงินได้จำนวนดังกล่าวมาเป็นฐานหรือคำนวณหาค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมด แต่เฉพาะสำหรับเงินได้ตามหลักเกณฑ์ของนายจ้างที่มีเงื่อนไขว่าต้องนำมาเปรียบเทียบกับเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน ซึ่งเงินเดือนสุดท้ายจะต้องไม่เกินจำนวนเงินเดือนถัวเฉลี่ย 12 เดือนสุดท้าย ก่อนออกจากงานบวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น ถ้าเงินที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของนายจ้างมีจำนวนมากกว่าให้นำเงินเดือน เดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานมารวมเป็นฐาน เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายแทนเงินได้ตามหลักเกณฑ์ของนายจ้างแต่ถ้าเงินที่นายจ้างจ่ายนั้นมีจำนวนน้อยกว่าให้นำจำนวนเงินตามหลักเกณฑ์ของนายจ้างมารวมเป็นฐาน เพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน 
ตัวอย่างที่ 7 : นายเขียวลาออกจากงานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 นายจ้างได้จ่ายเงินให้ดังนี้ 
1.จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ( The Provident Fund ) จำนวน 500,000 บาท 
2. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน (ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ข้อ 2 (51) จำนวน 240,000 บาท 
3. เงินที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ของนายจ้างจำนวน 600,000 บาท ในปีภาษี 2548 นายเขียวได้รับเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท ติดต่อกันมาหลายปี จนในระยะ 3 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดอนละ 30,000 บาท ทำงานมาครบ 10 ปี ผู้จ่ายเงินได้จะต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายเงินดังกล่าวข้างต้น ดังนี้ 
วิธีคำนวณค่าใช้จ่าย : (ตามคำชี้แจงกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541) 
เงินที่นายจ้างจ่ายทั้งหมด (500,000+240,000+600,000) = 1,340,000.00 บาท 
เงินเดือนเดือนสุดท้าย = 30,000.00 บาท 
ขั้นที่ 1 : ถัวเฉลี่ยของเงินเดือน 12 เดือสุดท้าย

(20,000 x 9) + (30,000x 3)

= 22,500.00 บาท

12

 

ขั้นที่ 2 : บวกกับ 10% ของเงินเดือนถัวเฉลี่ย (22,500x 10% ) = 2,250.00 บาท 
รวมเงินที่คำนวณได้ในขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 (22,500+2,250) = 24,750.00 บาท 
จะเห็นว่า เงินเดือนเดือนสุดท้าย (30,000 บาท) มากกว่าเงินเดือนถัวเฉลี่ยบวกด้วยร้อยละ 10 (24,750 บาท)
จึงต้องใช้เงินเดือนถัวเฉลี่ย เพื่อเปรียบเทียบหาเงินได้ที่จะใช้เป็นฐานเพื่อคำนวณหาค่าใช้จ่าย (24,750 x 10) = 247,500.00 บาท 
ดังนั้น เงินที่จะนำมาเป็นเกณฑ์หักค่าใช้จ่าย = 987,500.00 บาท (500,000+240,000+247,500) 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (7,000 x 10) = 70,000.00 บาท 
คงเหลือ = 917,500.00 บาท 
หัก ค่าใช้จ่ายส่วนหลัง 50 % ของ 917,500 บาท = 458,750.00 บาท 
ดังนั้น รวมค่าใช้จ่าย (70,000+458,750) = 528,750.00 บาท 
เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว (1,340,000-528,750) = 811,250.00 บาท 
ดังนั้น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 107,250.00 บาท (100,000 x5%)+(400,000x10%)+(311,250x20%)
หมายเหตุ 
1. กรณีเงินที่จ่ายตามหลักเกณฑ์ของนายจ้างมีจำนวนน้อยกว่าเงินเดือนถัวเฉลี่ยบวกด้วยร้อยละ 10 เช่น เงินที่นายจ้างจ่ายมีจำนวนเพียง 180,000 บาทเช่นนี้ เงินได้ที่นำมาเป็นเกณฑ์ หักค่าใช้จ่ายจะมีจำนวน (500,000+240,000+180,000) = 920,000 บาท คือใช้จำนวนที่น้อยกว่านั่นเอง
2. การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีนายจ้างจ่ายเงินให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ซึ่งไม่เป็นไปตามวิธีคำนวณภาษีประจำปีหรือการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามปกติของหลักเกณฑ์ตามมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากรดังนั้นการได้รับยกเว้นภาษีในเงินได้สุทธิจากการคำนวณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใน 100,000 บาทแรกจึงใช้ไม่ได้ (ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 430) พ.ศ.2548)

ที่มา: www.apkaudit.com



ผลิตภัณฑ์ไหน
เหมาะสำหรับคุณ


Digital Transformation in Operational Process with ERP การนำระบบ ERP ไปใช้ในการทำ Digital Transformation ในส่วน Operational Process เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กร ดังนั้น ERP เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันธุรกิจให้เติบโต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มกำไร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


 

PEAR ERP For
Manufacturing Business

 

PEAR ERP For
General Business

 

 



OUR REFERENCE SITE







พันธมิตร และ เครือข่าย
ของเรา









Copyright © Pichaya Solution 2021. All Rights Reserved.