Pichaya Solution
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
Pichaya Solution
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
Pichaya Solution
Pichaya Solution Co., Ltd.
Pichaya Solution Co., Ltd.
Pichaya Solution Co., Ltd.

We provide ERP solution covering Accounting, Financial, Distribution, Manufacturing, Business Intelligence, etc.
Pichaya Solution Co., Ltd.

We provide ERP solution covering Accounting, Financial, Distribution, Manufacturing, Business Intelligence, etc.
Slider

รายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ ต้องผ่านธนาคาร 

   ปัญหาที่ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่มักจะละเลยหรือไม่ค่อย ให้ความสำคัญนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายเล็กๆ ที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำธุรกิจ หรือยังไม่มีความเข้าใจเพียงพอในเรื่องการบริหารการเงิน ในเรื่องของเงินสด รวมถึงการมิได้คำนึงถึงปัญหาในอนาคตเมื่อธุรกิจ ของตนต้องการขยายกิจการหรือต้องการเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจเพิ่มขึ้น คือเรื่องของ..การนำรายรับและรายจ่ายของธุรกิจของธุรกิจผ่านระบบธนาคาร

 

ดูเหมือนจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไรนัก หรือส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้สึกว่าเรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาเลย สำหรับผู้ประกอบการ เนื่องจากการค้าหรือการดำเนินธุรกิจของตนเองก็ใช้เงินสดในการดำเนินการ อีกทั้งเงินสดรับ-จ่ายในแต่ละวันก็มียอดเงินสดคงเหลือไม่มากนัก รวมถึงความสะดวกที่เก็บเงินสด ไว้กับตนเอง แทนที่จะต้องเสียเวลาในการไปธนาคารเพื่อฝากหรือเบิกถอนเงิน จากการไม่ใส่ใจในประเด็นดังกล่าวนี้ผู้ประกอบการอาจไม่รู้เลยว่า อาจจะส่งผลเสียกับตนเอง ขึ้นในอนาคต ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นสมควรกล่าวถึงความจำเป็นและประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเหตุผล ที่ธุรกิจหรือผู้ประกอบการต้องนำรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นของธุรกิจผ่านระบบธนาคาร เพื่อ ผู้ประกอบการจะได้เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตก่อนที่ จะสายเกินไป

ในปัจจุบันธนาคารไม่ว่าจะเป็นธนาคารภาครัฐหรือธนาคารพาณิชย์ ต่างก็มีบริการต่างๆ ที่อำนวย ความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ SMEs อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ ขั้นตอนการบริการที่สะดวกรวดเร็ว การตกแต่งภายในสาขาธนาคารที่ทันสมัย อุปกรณ์เครื่องมือ ต่างๆที่ช่วยในการให้บริการแก่ลูกค้า

แต่กลับพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะไปดำเนินการทำธุรกรรมทางการเงินที่ธนาคาร ก็ต่อ เมื่อเป็นการขึ้นเงินเช็คหรือตั๋วเงิน การทำบัตรเครดิต การติดต่อขอสินเชื่อ การโอนเงิน การถอน เงินจำนวนมากเกินกว่าที่จะเบิกจากตู้ ATM ได้

ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ประกอบการ SMEs มิได้คำนึงถึงความสำคัญในการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ในเรื่องของการดำเนินการธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบธนาคารของธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มจะเป็น ผู้ประกอบการหรือเริ่มจะดำเนินธุรกิจ หรืออาจรวมทั้งผู้ประกอบการบางส่วนที่ทำธุรกิจอยู่แล้วด้วย ดังนั้นผู้เขียนจึงเห็นควรกล่าวถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการนำรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจซึ่งถือ เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมทางการเงิน ในการบริหารเงินสดของกิจการ ที่ผู้ประกอบการ SMEs ทั้ง ที่ยังมิได้เคยนำรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจผ่านระบบธนาคาร หรือยังอาจละเลยประเด็นต่างๆ ตาม ที่จะกล่าวถึงนี้ควรพิจารณาและปฏิบัติให้ครบถ้วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจซึ่งประกอบด้วย

เปิดบัญชีกับธนาคารโดยใช้ชื่อของธุรกิจเป็นเจ้าของบัญชี

ผู้ประกอบการควรเปิดบัญชีธนาคารภายใต้ชื่อของธุรกิจ เช่นบัญชีในนาม ห้างหุ้นส่วน จำกัด บริษัทจำกัด ถ้าดำเนินการเป็นรูปนิติบุคคล โดยแยกต่างห่างจากบัญชีส่วนตัวของเจ้า ของธุรกิจ แต่ในกรณีที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นเพียงประกอบการพาณิชย์ ทั่วไป ก็อาจใช้ชื่อเจ้าของธุรกิจเป็นเจ้าของบัญชีเองก็ได้

แต่ทั้งนี้ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่าบัญชีธนาคารที่เปิดนั้นมีวัตถุประสงค์ต่างกัน คือบัญชี ธนาคารของธุรกิจ และบัญชีธนาคารส่วนตัว โดยการเปิดบัญชีนั้นส่วนใหญ่แล้วเบื้องต้นจะเป็น บัญชีออมทรัพย์ (Saving account) หรือบัญชีกระแสรายวัน (Current account) ซึ่งจะขึ้นอยู่ กับลักษณะในการดำเนินธุรกิจ

สำหรับธุรกิจที่เป็นการรับจ่ายทั่วไปซึ่งเป็นเงินสด และไม่มีการสั่งจ่ายเช็คของธุรกิจให้กับ คู่ค้าหรือเจ้าหนี้การค้า อาจเพียงเปิดบัญชีธนาคารของธุรกิจเฉพาะบัญชีออมทรัพย์ก็เพียงพอ แต่สำหรับธุรกิจที่มีการรับจ่ายโดยเช็คของทางธนาคาร ทั้งจากเช็คสั่งจ่ายของธุรกิจเองหรือเช็ค สั่งจ่ายของลูกค้า ก็มีความจำเป็นต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันร่วมกับบัญชีออมทรัพย์ด้วย โดย อาจกำหนดเงื่อนไขการโอนเงินระหว่างบัญชีกับทางธนาคาร คือสามารถโอนเงินผ่านระหว่าง บัญชีออมทรัพย์กับบัญชีกระแสรายวันของธุรกิจ แต่ไม่ควรกำหนดการโอนเงินผ่านระหว่าง บัญชีของธุรกิจกับบัญชีส่วนตัว เพราะจะเป็นช่องทางให้เกิดความละเลยในการใช้จ่ายเงิน ระหว่างบัญชีธุรกิจกับบัญชีส่วนตัวขึ้นได้
 

เลือกสาขาของธนาคารที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการ

ผู้ประกอบการควรเลือกเปิดบัญชีกับธนาคาร ในสาขาที่อยู่ใกล้กับสถานประกอบการมากที่สุด เพราะจะได้สะดวกในการฝากเงินหรือการเบิกถอน เพราะปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้ประกอบการ รู้สึกว่าเป็นการเสียเวลาในการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร โดยเฉพาะสาขาที่อยู่ห่างจากสถาน ประกอบการ เนื่องจากอาจรู้สึกว่าจะไม่มีใครคอยดูแลธุรกิจเพราะตนเองต้องไปธนาคารด้วยตนเอง เนื่องจากอาจไม่ไว้ใจพนักงานในการนำเงินไปฝากหรือถอน หรืออาจเป็นสาขาเดิมที่เคยเปิดบัญชี ไว้แต่เดิมซึ่งมักเป็นบัญชีส่วนตัว

จากเหตุผลที่ถ้าธนาคารอยู่ห่างจากสถานประกอบการ จะทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถนำเงิน เข้าหรือถอนจากธนาคารได้ทุกวันหรืออย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นข้อดีของการเลือกธนาคารสาขาที่อยู่ ใกล้กับสถานประกอบการหรือใกล้กับที่ประกอบธุรกิจ คือ เรื่องของระยะเวลาและความสะดวกใน การเดินทาง

นอกจากการที่ธนาคารดูแลและเห็นการเคลื่อนไหวบัญชีของผู้ประกอบการแล้ว ในกรณีที่ต้อง การขอวงเงินสินเชื่อในอนาคตก็จะสะดวกกว่าการเปิดบัญชีกับธนาคารต่างสาขา เนื่องจากอาจต้อง มีการโอนวงเงินสินเชื่อระหว่างสาขา รวมถึงความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อในการพิจารณาธุรกิจ หรือการกำหนดราคาประเมินทรัพย์สินของธุรกิจ เป็นต้น เนื่องจากสามารถเดินทางมาดูธุรกิจได้ โดยง่าย และมีความคุ้นเคยกับตัวผู้ประกอบการหรือธุรกิจ รวมถึงมีความเข้าใจในสภาพธุรกิจใน ย่านที่สาขาธุรกิจของตนรับผิดชอบนั้นอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้การพิจารณาสินเชื่อเป็นไปได้โดย สะดวกและใช้เวลาในการดำเนินการน้อยกว่าสาขาที่ไม่ใช่สถานประกอบการตั้งอยู่

ต้องแยกรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ กับรายรับ-รายจ่ายส่วนตัวในการเข้าบัญชี

ปัญหาเรื่องของการแยกรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ กับรายรับ-รายจ่ายส่วนตัวของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจในการเข้าบัญชี ถือเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปโดยเฉพาะผู้ประกอบการ รายเล็กๆหรือเพิ่งจะเริ่มต้นธุรกิจ เพราะถือว่าตนเองเป็นเจ้าของธุรกิจเอง ทำให้ผู้ประกอบ การมิได้ทำการแยกรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากธุรกิจ กับรายรับ-รายจ่ายส่วนของตนเองออก จากกัน

ส่วนใหญ่แล้วรายรับ-รายจ่ายส่วนของตนเองจะมีแต่รายจ่ายเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ 

ถ้ามิได้มีการกำหนดเงินเดือนของตนเองไว้และมีการเบิกจ่ายตามรอบเวลาอย่างชัดเจน ทำให้ การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัวของตนเองมีการเบิกถอนจากบัญชีที่มีอยู่ เพราะมีเงินสดหมุนเวียนคงเหลือเพียงพอให้สามารถเบิกถอนได้

การกระทำดังกล่าวทำให้ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่า รายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้น ของธุรกิจนั้นมีจำนวนแน่นอนเท่าใด เพราะมีรายจ่ายบางส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายของตนเอง ปนอยู่ด้วย

การไม่แยกรายรับ-รายจ่ายนี้ยังส่งผลทำให้เกิดปัญหาเมื่อทำบัญชีหรือปิดงบการเงิน เพราะธุรกิจดำเนินการมีผลกำไรแต่ทว่าเมื่อปิดบัญชีกลับพบว่าเกิดผลขาดทุนขึ้น ซึ่งมาจาก การที่ผู้ประกอบการมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวมากกว่ารายรับที่ธุรกิจทำมาหาได้ หรือเรียกได้ว่า ใช้จ่ายเกินตัวนั่นเอง

และจะส่งผลในเรื่องของการขอวงเงินสินเชื่อในเรื่องของการขาดการรับรู้รายรับ-รายจ่าย ที่ถูกต้องของธุรกิจ
 

นำรายรับ-รายจ่ายผ่านธนาคารให้ครบถ้วนและสม่ำเสมอ

การนำรายรับ-รายจ่ายผ่านธนาคารให้ครบถ้วนและสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะแม้ว่าในบางกรณีจะถือว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่าย หรือ เป็นเรื่องของการเสียเวลาก็ตามไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดินทาง การรอคิวการให้บริการ ขั้นตอน ในการดำเนินการ หรือต้องฝากเงินแล้วก็ต้องถอนออกในทันทีหรือในจำนวนใกล้เคียงกัน หรือมี รายการวงเงินที่มีมูลค่าน้อย

โดยเฉพาะธุรกิจที่มีเงินสดรับและจ่ายเกิดขึ้นระหว่างวันโดยมียอดคงเหลือไม่มากนัก จนผู้ประกอบการรู้สึกว่าไม่คุ้มกับเวลาที่ตนเองต้องสูญเสียไปในการไปธนาคาร โดยอาจคิดว่าไปธนาคารอาทิตย์ ละครั้งหรือเดือนละครั้งก็เพียงพอ หรือรอให้มีเงินคงเหลือจำนวนมากเพียงพอภายหลังการหักราย รับ-รายจ่าย แล้วจึงนำไปเข้าบัญชี ซึ่งความคิดดังกล่าวถือว่าไม่ถูกต้องเป็นอย่างยิ่ง เพราะการนำรายรับ-รายจ่ายผ่านธนาคารให้ครบถ้วนทุกๆ รายการที่เกิดขึ้นและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ทางธนาคารทราบถึงลักษณะการดำเนินการของธุรกิจว่ามียอดเงิน ความสม่ำเสมอ หรือ ใช้ระยะเวลาเท่าใดในแต่ละช่วงของรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความ เข้าใจในลักษณะธุรกิจของผู้ประกอบการ และสามารถพิจารณาในการให้วงเงินสินเชื่อ ให้กับผู้ประกอบ การถ้าต้องการในอนาคตได้โดยสะดวกและถูกต้อง

และในเรื่องเวลาดำเนินการทางธนาคารก็มีบริการต่างๆ ที่ช่วยลดระยะเวลาลงได้บางส่วน เช่น ตู้รับฝากเงินอัตโนมัติที่ในกรณีผู้ประกอบการไม่ต้องการเสียเวลานำฝากเงิน รวมถึงบริการทาง อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ของทางธนาคาร เช่น การโอนเงินอัตโนมัติ การแจ้ง SMS ยืนยันการทำรายการ ทางการเงิน เป็นต้น เพียงแต่ผู้ประกอบการให้ความสนใจในบริการต่างๆ ที่มีอยู่ของทางธนาคาร เหล่านี้ ก็จะเป็นการช่วยประหยัดเวลาการทำรายการ และสามารถนำการนำรายรับ-รายจ่ายผ่าน ธนาคารได้อย่างครบถ้วนและสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่ง

ปรับยอดบัญชีล่าสุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

กรณีที่มิได้มีสมุดคู่ฝากประกอบการทำรายการเบิก-ถอนสำหรับบัญชีออมทรัพย์ ผู้ประกอบ การควรจะมีการปรับสมุดคู่ฝาก เพื่อทราบยอดเงินคงเหลือในบัญชีให้เป็นข้อมูลล่าสุดอย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และในปัจจุบันธนาคารสาขาส่วนใหญ่ก็มีตู้ให้บริการปรับยอดบัญชีสมุดคู่ฝาก อัตโนมัติอยู่แล้ว การปรับยอดบัญชีดังกล่าวจะเป็นการช่วยให้เห็นรายการธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ของธุรกิจอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของธุรกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพ จากข้อมูลรายรับ-รายจ่ายที่ผ่านมาของธุรกิจ สำหรับบัญชีกระแสรายวันของธุรกิจ อาจดำเนินการขอให้ทางธนาคารจัดพิมพ์ Statement การเดินบัญชีทุกเดือน เพื่อวัตถุประสงค์เช่น เดียวกันกับการปรับยอดบัญชีสมุดคู่ฝากของบัญชีออมทรัพย์

เก็บหลักฐานต่างๆ ของการทำธุรกรรมบัญชีรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจให้ครบถ้วน

หลักฐานต่างๆ ในการทำธุรกรรมทางการเงินกับทางธนาคาร เช่น ใบนำฝาก ใบถอน เอกสารการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ Slip ATM ที่เป็นรายการรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ ผู้ประกอบ การควรเก็บหลักฐานต่างๆ ไว้ให้ครบถ้วนทุกรายการ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารฉบับจริงหรือเอกสาร สำเนา โดยเฉพาะถ้าเป็นเช็คหรือตั๋วเงินสั่งจ่ายต่างๆ ให้กับธุรกิจจากบุคคลภายนอก ผู้ประกอบ การต้องถ่ายสำเนาพร้อมจัดทำเอกสารการรับอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นผู้สั่งจ่าย ผู้รับ วันที่ หรืออาจรวมถึงสถานที่รับ เพราะถือเป็นเอกสารสำคัญตามกฎหมาย ในกรณีที่ใน อนาคตมีกรณีพิพาททางข้อกฎหมายเกิดขึ้นไม่ว่าตัวธุรกิจจะเป็นผู้จ่ายเงินหรือเป็นผู้รับเงิน ก็ตาม ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำเอกสารหลักฐานดังกล่าวมาใช้เป็นหลักฐานยืนยันได้ อย่างรวดเร็ว โดยมิต้องดำเนินการไปขอเอกสารต้นขั้ว หรือเอกสารฉบับจริงจากทาง ธนาคาร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้ผู้ประกอบ การสามารถจัดทำบัญชีหรืองบการเงินของธุรกิจได้อย่างถูกต้องอีกด้วย
 

ควรเปิดบัญชีธุรกิจกับทางธนาคารมากกว่า 1 แห่งถ้าเป็นได้

ในกรณที่ธุรกิจมีรายรับ-รายจ่ายในวงเงินสูง หรือมีรายการต่างๆ อยู่บ่อยครั้งหรือมีคู่ค้าจำนวน มาก ผู้ประกอบการควรเปิดบัญชีกับธนาคารมากกว่า 1 แห่ง เพื่อความสะดวกทั้งต่อตัวธุรกิจเอง และกับคู่ค้าของธุรกิจ โดยเฉพาะถ้ามีเรื่องของการรับจ่ายเช็คระหว่างกัน เพราะจะช่วยลดระยะเวลา ในการ Clearing เช็คลงถ้าเป็นธนาคารเจ้าของเช็ค และเกิดความคล่องตัวในการทำธุรกรรม นอกจากนี้การเปิดบัญชีธนาคารมากกว่า 1 แห่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกธนาคารที่ให้ เงื่อนไขที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนมากที่สุดในกรณีที่ดำเนินการติดต่อขอวงเงินสินเชื่อ แต่อย่างไรก็ตาม วงเงินในการทำธุรกรรมหรือเปิดบัญชีกับทางธนาคารไม่ควรมีมูลค่าน้อยจนเกิน ไป หรือเปิดบัญชีหลายๆ ธนาคารมากจนเกินความจำเป็น เพราะจะไม่เกิดรายการเคลื่อนไหวทาง บัญชี อีกทั้งการเปิดบัญชีหลายๆ ธนาคารจะทำให้ผู้ประกอบการไม่มีเวลาที่จะไปดำเนินการ ใน การผ่านรายการรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจได้อย่างครบถ้วน ซึ่งกลับส่งผลเสียแก่ธุรกิจมากกว่าผลดี จึงควรมีบัญชีหลักของธุรกิจกับธนาคารใดธนาคารหนึ่ง ส่วนอีกธนาคารอาจเป็นบัญชีส่วนตัวของ ผู้ประกอบการก็ได้ โดยเลือกในสาขาที่ใกล้กับสถานประกอบการที่สุดตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เบื้องต้น

ปัญหาส่วนใหญ่ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการถ้าหากว่าไม่มีการนำรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจ ผ่านธนาคารตามที่กล่าวมาข้างต้น จะเป็น...ปัญหาของการไม่สามารถขอสินเชื่อได้หรือการถูก ธนาคารปฏิเสธ... ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อเพื่อขยายกิจการหรือต้องการเงินทุนหมุนเวียน ซึ่ง ผู้เขียนได้เคยกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวไว้ในเรื่อง “10 ปัจจัยขอกู้...ธนาคารปฏิเสธ” ในคอลัมน์นี้ ซึ่ง ถ้าผู้อ่านสนใจในรายละเอียดบทความดังกล่าว ได้จาก Website ของหนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย ใน คอลัมน์ Smart SMEs, www.bcm.arip.co.th หรือ Website ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.), www.sme.go.th ก็จะเข้าใจในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยจากเหตุผลของ การละเลยในเรื่องของการนำรายรับ-รายจ่ายผ่านธนาคาร จนถูกธนาคารปฏิเสธนี้เนื่องจากสาเหตุ หลักๆ 2 ประการ กล่าวคือ

ธนาคารไม่อยากเสี่ยงเนื่องจากเป็นลูกค้าใหม่และขาดเอกสารหลักฐานทางการเงิน

การที่ผู้ประกอบการเป็นลูกค้าใหม่ของทางธนาคาร กล่าวคือไม่เคยมีการเดินบัญชี หรือทำธุรกรรมกับทางธนาคารที่ติดต่อขอสินเชื่อมาก่อน โดยอาจยังไม่เคยมีการเปิดบัญชี หรือมีบัญชีกับธนาคารแห่งอื่น แต่ก็มิใช่ว่าเรื่องดังกล่าวจะถือเป็นประเด็นหลักที่ธนาคารจะ ปฏิเสธ แต่ประเด็นสำคัญคือการไม่มีประวัติทางการเงินกับทางธนาคารที่จะขอวงเงินสินเชื่อ และ ไม่มีประวัติทางการเงินที่ดีกับธนาคารอื่น โดยอาจเกิดจากการที่ผู้ประกอบการไม่มีการเปิดบัญชีธุรกิจ การมีบัญชีเฉพาะบัญชีส่วนตัว การใช้จ่ายในการทำธุรกิจโดยไม่ผ่านธนาคาร หรือการไม่นำรายรับ-รายจ่ายผ่าน ธนาคารให้ครบถ้วนและสม่ำเสมอ ทำให้ยอดเงินคงเหลือในบัญชีมีน้อยกว่าที่ธุรกิจจะสามารถ ดำรงอยู่ได้ ซึ่งธนาคารอาจพิจารณาว่าผู้ประกอบการดังกล่าวดำเนินธุรกิจได้ไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอ จึงปฏิเสธการให้วงเงินสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการรายดังกล่าว เพราะไม่ต้องการแบกรับ ความเสี่ยงในการให้วงเงินสินเชื่อกับธุรกิจดังกล่าว ซึ่งเป็นประเด็นที่พบเห็นได้ทั่วไปสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ ที่มักตำหนิทางธนาคารว่าไม่ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการใหม่ตามที่โฆษณาไว้ ทั้งที่ในข้อเท็จจริงธนาคารก็มี การให้วงเงินสินเชื่อกับผู้ประกอบการใหม่ เพียงแต่ว่าผู้ประกอบการใหม่ที่ธนาคารให้วงเงินสินเชื่อเหล่านี้มีเอกสารหลักฐานทางการเงินที่ยืนยันได้ว่า รายรับ-รายจ่ายของธุรกิจเป็น ไปตามที่กล่าวอ้างและมีประสิทธิภาพหรือมีศักยภาพเพียงพอในการให้การสนับสนุน
 

ผู้ประกอบการไม่สามารถระบุรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจให้ธนาคารเชื่อได้

กรณีนี้เกิดจากการที่ผู้ประกอบการไม่มีการนำรายรับ-รายจ่าย ผ่านธนาคารให้ครบถ้วนและ สม่ำเสมอ รวมถึงการที่มีค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจปนเปกันอยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ แล้วผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือธุรกิจมักจะมีรายได้คงเหลือน้อยมาก หรืออาจไม่เหลือเพียงพอที่ ธนาคารจะสามารถพิจารณาให้วงเงินสินเชื่อดังกล่าวได้ เพราะรายได้ของธุรกิจตามที่ปรากฏในบัญชี ของธุรกิจมีน้อยเกินกว่าที่จะเพียงพอชำระค่างวดเงินกู้ได้

หรือในกรณีที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้างว่าธุรกิจสามารถสร้างรายได้เท่านั้นเท่านี้ หรือภายหลัง หักค่าใช้จ่ายคงเหลือเป็นกำไรสุทธิเท่านั้นเท่านี้ แต่ปรากฏว่าในบัญชีของธุรกิจไม่มียอดคงเหลือตาม ที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้าง เช่น แม้ว่าธุรกิจหักลบกลบหนี้ระหว่างรายรับ-รายจ่ายแล้วมีกำไรจาก การทำธุรกิจเหลือเดือนละ 50,000 บาท แต่ในบัญชีธนาคารของธุรกิจมีเงินคงเหลือในแต่ละเดือน เพียงเดือนละ 5,000 บาท เพราะจากการละเลยข้างต้นทางธนาคารก็อาจจะไม่พิจารณาอนุมัติวง เงินสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ เพราะขาดหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงทางการเงิน ทั้งที่ในข้อเท็จจริง แล้วสิ่งที่ผู้ประกอบการกล่าวอ้าง เกี่ยวกับรายรับหรือผลกำไรจะเป็นจริงก็ตาม จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบ การเสียโอกาสในการขอวงเงินสินเชื่อดังกล่าว

ยังมีประเด็นที่อาจยังไม่ได้กล่าวถึงไว้ในที่นี้ก็คือ การที่ผู้ประกอบการจงใจที่จะไม่นำรายรับ-ราย จ่ายผ่านระบบธนาคาร เนื่องจากเกรงว่าการนำเงินผ่านระบบธนาคาร จะทำให้ตนเองต้องเสียภาษีเงินได้ หรือสรรพากรตรวจสอบรายได้ของตนเองเพื่อประเมินภาษี จึงจงใจหลีกเลี่ยงโดยการใช้จ่าย เป็นเงินสด เพื่อจะแสดงว่า “ตนเองเป็นผู้ไม่มีรายได้” หรือ “ธุรกิจของตนเองไม่มีกำไร” ซึ่งเป็น ความคิดที่ผิดเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะถ้าธุรกิจของตนประสบปัญหา เนื่องจากไม่สามารถติดต่อขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้ รวมถึงก็จะเป็นการเสียโอกาสถ้าต้องการขอวงเงินสินเชื่อเพื่อขยายกิจการ เนื่องจากการกระทำโดยความเข้าใจในเรื่องของการหลีกเลี่ยงการเสียภาษี เนื่องจากในการบริหาร จัดการทางการเงินนั้นถ้าผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง ก็สามารถวางแผนทางการเงิน หรือการวางระบบบัญชีเพื่อประหยัดภาษีได้ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาที่กล่าวถึงมานี้ในอนาคต สุดท้ายนี้หวังว่าผู้อ่านโดยเฉพาะท่านผู้ประกอบการ SMEs จะตระหนักถึงความสำคัญของการ นำรายรับและรายจ่ายของธุรกิจของธุรกิจผ่านระบบธนาคาร รวมถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ควร ให้ความสนใจหรือไม่ละเลย เพราะนอกจากจะช่วยในการบริหารจัดการเงินสดของธุรกิจให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ยังช่วยให้ธุรกิจไม่ประสบปัญหาเมื่อต้องการขอวงเงินสินเชื่อจากทางธนาคารใน อนาคตอีกด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์บิสิเนสไทย



ผลิตภัณฑ์ไหน
เหมาะสำหรับคุณ


Digital Transformation in Operational Process with ERP การนำระบบ ERP ไปใช้ในการทำ Digital Transformation ในส่วน Operational Process เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กร ดังนั้น ERP เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันธุรกิจให้เติบโต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มกำไร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


 

PEAR ERP For
Manufacturing Business

 

PEAR ERP For
General Business

 

 



OUR REFERENCE SITE







พันธมิตร และ เครือข่าย
ของเรา









Copyright © Pichaya Solution 2021. All Rights Reserved.