Pichaya Solution
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
Pichaya Solution
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
ผู้ให้บริการ มากกว่า 10 ปี แห่งการวางระบบ ERP
Pichaya Solution
Pichaya Solution Co., Ltd.
Pichaya Solution Co., Ltd.
Pichaya Solution Co., Ltd.

We provide ERP solution covering Accounting, Financial, Distribution, Manufacturing, Business Intelligence, etc.
Pichaya Solution Co., Ltd.

We provide ERP solution covering Accounting, Financial, Distribution, Manufacturing, Business Intelligence, etc.
Slider

ใบกำกับภาษีกับการทำธุรกิจ  

ในปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการมีเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หากมีรายได้ตั้งแต่ 1,200,000 บาทขึ้นไปต่อปี (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 เปลี่ยนเป็น 1,800,000 บาทต่อปี) มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

     
       นอกจากจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังมีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ซึ่งต้องออกใบกำกับภาษีเป็นหลักฐานให้กับผู้ซื้อหรือผู้รับบริการอีกด้วย และในแต่ละเดือนยังคงมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปโดยการยื่นแบบ ภ.พ.30 นำส่งกรมสรรพากร
       
       ใบกำกับภาษี (TAX INVOICE) จึงเป็นเอกสารสำคัญในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
       
       ในกรณีของการขายสินค้า ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ แต่ในกรณีของการให้บริการผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีต่อเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ใบกำกับภาษีต้องจัดทำอย่างน้อย 2 ฉบับ ต้นฉบับส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ส่วนสำเนาผู้ประกอบการต้องเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการลงรายงานภาษีขาย
       
       ในการออกใบกำกับภาษีจะต้องออกเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและผู้นำเข้าต้องเรียกใบกำกับภาษีจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
       
       "ใบกำกับภาษี" ยังหมายรวมถึง ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบเสร็จรับเงินที่ส่วนราชการออกให้ในการขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่น และใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร กรมศุลกากร หรือ กรมสรรพสามิต ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม
       
       ผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี
       
       ผู้ที่มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 หรือร้อยละ 0 เท่านั้น ซึ่งมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อ
       
       สำหรับกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และกิจการที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อแต่อย่างใด ห้ามมิให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต่อไปนี้ออกใบกำกับภาษี
       
       1) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร และได้ให้ตัวแทนของตนออกใบกำกับภาษีแทนตน
       
       2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ทรัพย์สินถูกนำออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นโดยบุคคลอื่น
       
       3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาฯ
       
       ประเภทของใบกำกับภาษี และผู้มีสิทธิออกในกรณีต่าง ๆ
       
       ผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ซึ่งใบกำกับภาษีมีทั้งประเภทที่เป็นแบบเต็มรูปและแบบย่อ รวมทั้งใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ตลอดจนใบเสร็จรับเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่ส่วนราชการเป็นผู้ออก ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะมีสิทธิออกใบกำกับภาษีแบบใดขึ้นอยู่กับลักษณะของการประกอบกิจการดังนี้
       
       1. ใบกำกับภาษีเต็มรูป ตามมาตรา 86/4
       2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อที่กรอกด้วยมือ ตามมาตรา 86/6
       3. ใบกำกับภาษีอย่างย่อที่ออกด้วยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน ตามมาตรา 86/7
       4. ใบเพิ่มหนี้ ตามมาตรา 86/9
       5. ใบลดหนี้ ตามมาตรา 86/10
       6. ใบเสร็จรับเงินที่ออกโดยส่วนราชการเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 86/14
       
       หากท่านเป็นผู้ประกอบธุรกิจจะต้องออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ ในขณะเดียวกันถ้าท่านเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการท่านมีหน้าที่ขอใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการทุกครั้ง และที่สำคัญใบกำกับภาษียังนำไปชิงโชคกับกรมสรรพากรได้อีกด้วย

ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์



ผลิตภัณฑ์ไหน
เหมาะสำหรับคุณ


Digital Transformation in Operational Process with ERP การนำระบบ ERP ไปใช้ในการทำ Digital Transformation ในส่วน Operational Process เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กร ดังนั้น ERP เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะผลักดันธุรกิจให้เติบโต เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มกำไร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน


 

PEAR ERP For
Manufacturing Business

 

PEAR ERP For
General Business

 

 



OUR REFERENCE SITE







พันธมิตร และ เครือข่าย
ของเรา









Copyright © Pichaya Solution 2021. All Rights Reserved.